แดนอัศจรรย์แห่งธรรม วัดชลประธานรังสฤษดิ์ โดยประชา แสงสายัณห์

ประชา2

หนังสือแดนอัศจรรย์แห่งธรรม วัดชลประธานรังสฤษดิ์ โดยประชา แสงสายัณห์ นำเสนอเรื่องราว ความเป็นมาของการก่อตั้งวัดชลประทานฯ ปณิธานการสร้างวัด หลักการวัดชลประทานฯและหลักการปฏิรูปพิธีกรรมของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ตลอดจนถึงหลักการเสริมเรื่องอื่นๆเช่นร่วมสมัยเจ้าชายสิทธัตถะ ร่วมสมัยพระพุทธเจ้า เดี่ยวแต่ไม่เปลี่ยว อิสระแต่ควบคุม และสัปปายะ4 อันเป็นแนวความคิด ในการดำเนินงานปรับปรุง ผังแม่บทวัดชลประทานฯ เพื่อเตรียมงานสลายสรีระธาตุประกาศสัจธรรม :ดอกไม้จันทน์ส่งสู่สวรรคาลัย ดอกไม้ใจส่งสู่มรรคผลนิพพาน หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ของพระราชวัชระธรรมภาณี(ส.ณ.สุภโร)

 

ในการปรับปรุงผังแม่บทเพื่อพัฒนาพื้นที่ บริเวณเขตพุทธานุภาพ วัดชลประทานฯได้ชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างปัญหาและอุปสรรคต่างๆของวัดในปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่กระบวนการสร้างแนวความคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ตลอดจนถึงศิลปกรรมต่างๆโดยมีหลักการที่เป็นวัตถุประสงค์ของการพัฒนาพื้นที่ คือ สร้างแดนอัศจรรย์แห่งธรรม เพื่อตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ทางพุทธศาสนาผ่านการออกแบบ การตีความศิลปะและสถาปัตยกรรม ในภาษาโลกและภาษาธรรม แบบปริศนาธรรม

 

การออกแบบลานอริยจักรเพื่อประดิษฐานประติมากรรมรูปปั้นหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสื่อคุณค่าธรรมะเพื่อความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ด้วย งานออกแบบเรขศิลป์(graphic design) สื่อสัญลักษณ์โลกียธรรมและโลกุตระธรรมโดยการเปรียบเทียบและอธิบายคุณค่าความหมาย ผ่านรูปสัญลักษณ์สื่อสังคมออนไลน์(social media icon&symbol)กับพุทธพจน์พระสูตรที่สำคัญ เช่น ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร อาทิตตปริยายสูตร อนัตตลักขณสูตร สิงคาลกสูตร(ทิศ6) ขณสูตร และนิพพานสูตร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี การออกแบบรูปสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับวันเกิด และวันมรณภาพ ของหลวงพ่อปัญญาฯที่แฝงความหมายในเชิงปริศนาธรรม

ตลอดจนถึง การออกแบบลานปริศนาธรรม รูปธรรมจักรและดอกบัว นิทานธรรม4ภาค ซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนไทยได้แก่เรื่อง หนวดเต่าเขากระต่ายนอกบ เพลงกล่อมลูกภาคใต้

มะพร้าวนาฬิเกร์ กำบ่าเก่าเล่าไว้ ไปเมืองบนเห็นคนขี่ช้าง ไปเมืองล่างเห็นช้างขี่คน และผญาภาษิต กบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัวและไม้สั้นไม้ยาว เป็นต้น

 

การออกแบบงานประติมากรรมรอบพระอุโบสถที่สื่อค่าในเชิงสัญลักษณ์มีความหมายในเชิงปริศนาธรรมได้แก่โลกุตระธรรม ระฆังสันติสุขสันติภาพ นะโมไตรสรณคมน์ธรรมจักร คนแบกทุกข์ค้นหาสุข ในรูปแบบประติมากรรมร่วมสมัย เพื่อสร้างบรรยากาศ ภาพลักษณ์และ

อัตลักษณ์ของวัดชลประทานฯให้มีบุคลิกภาพที่ทันสมัยและดึงดูดความสนใจในการค้นหาเรียนรู้ของพุทธบริษัทและศาสนิกชน ทั่วไป

 

โครงการพุทธสาวกสาวิกา “หลักสูตรพัฒนาจิตตามหลักไตรสิกขา”

100666_ปฏิบัติธรรมs

 ขอเชิญชวนร่วมปฏิบัติธรรมโครงการพุทธสาวกสาวิกาหลักสูตร
“พัฒนาจิตตามหลักไตรสิกขา” วันศุกร์, เสาร์, อาทิตย์ หรือวันนักขัตฤกษ์
วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑๔ ของจังหวัดนนทบุรี
 สนใจสมัครเข้าร่วมปฏิบัติธรรมโครงการพุทธสาวกสาวิกาหลักสูตร
“พัฒนาจิตตามหลักไตรสิกขา”
————————
๑.  ช่องทางออนไลน์
ลงทะเบียนได้ที่ Google Form คลิก  ด้านล่างนี้
https://forms.gle/QuXMBqi2HrHJpECR8
๒.  ลงทะเบียนผ่านโทรศัพท์ หรือ ช่องทาง LINE วัดชล โดย แอดไลน์ของวัดชล
คลิก  https://lin.ee/Bx8BcYK
แจ้งข้อความประสงค์สมัครดังนี้
ข้าพเจ้า ชื่อ-นามสกุล : ……………….
เบอร์โทร : …………………………….
สมัคร ปฏิบัติธรรมระหว่างวันที่ ………………..
๓.  สมัครลงทะเบียนที่วัดชลประทาน ในวันที่ท่านมาอบรม ได้ตั้งแต่ ๑๒.๓๐ – ๑๗.๐๐ น.
ณ อาคารพุทธสาวิกา ติดกับโรงทาน หลังลานหินโค้ง
สอบถามโทร : ๐๘๑ ๘๕๔ ๖๙๒๙ พล.อ.ต.หญิงโสภา คงสวัสดิ์
————————
(heart)(heart)(heart) สำคัญ (flaming thumbs up)
หากท่านสมัคร 3 ช่องทางนี้ หมายความว่า ท่านได้สิทธิ์เข้ามาอบรม 100% ขอให้มาตามนัดหมาย จะได้เป็นบุญใหญ่ของท่านต่อไป
————————
มาตรการป้องกันโรคโควิด
๑. ขอให้ผู้เข้ารับการอบรม นำอุปกรณ์การตรวจ ATK มาด้วย เพื่อตรวจก่อน
๒. หรือ นำผลตรวจ ATK ที่ตรวจเองในตอนเช้า นำไปแสดงกับเจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนก่อนเข้า
————————
ระเบียบ และข้อปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม
๑. ไม่โทรศัพท์ และไม่ติดต่อกับใครตลอดระยะเวลาของการ ปฏิบัติ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
๒. พูดน้อยไม่เสียงดัง ก่อความรำคาญให้แก่ผู้อื่น
๓. ในขณะเข้าอยู่ปฏิบัติตลอดการ อบรมต้อง ดูแลรักษาความสะอาด ที่พักและสถานที่ ปฏิบัติ
๔. ชุดปฏิบัติธรรม สีขาว ผู้ชาย ผู้หญิง ไม่มีลวดลาย หรือฉะลุ ๓ ชุด (ผู้ปฏิบัติหญิงมีผ้าถุง พร้อมสะไบ สีขาว เรียบๆ ๑ ชุด)
๕. ให้นำกระบอกน้ำมาด้วย เพื่อลดภาวะโลกร้อน และลดขยะพลาสติก
๖. ของใช้ส่วนตัวเตรียมมาให้พร้อม ห้ามนำทรัพย์สินมีค่าทุกชนิดติดตัวมาที่วัด
————————
 เอกสารกำหนดการโครงการ
คลิก  https://bit.ly/3QKn3N5

🙏 คติธรรม
——————–
“ พื้นที่โลกกว้างไกลไปไม่ทั่ว
พื้นที่ใจแคบ ไปได้ทั่ว
ทั้งในโลก และเหนือโลก
พอใจ ไม่พอใจ อยู่ในโลก ทุกข์
ใจสงบ พ้นทุกข์เหนือโลก ”
——————–
>> พระปัญญานันทมุนี <<
เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์

พุทธวจนะในธรรมบท

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ
(แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙)
พุทธวจนะในธรรมบท
หมวดความรัก
——————–
อย่าติดอยู่ในสิ่งที่เรารัก หรือไม่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เป็นทุกข์
การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์
——————–
Be not attached to the beloved
And never with the unbeloved.
Not to meet the beloved is painful
As also to meet with the unbeloved.
——————–
ที่มา : หนังสือ “พุทธวจนะในธรรมบท”
โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

พุทธวจนะในธรรมบท

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พุทธวจนะในธรรมบท
หมวดคู่
——————–
ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง)
ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์
ความสุขย่อมติดตามเขา เหมือนเงาติดตามตน
——————–
Mind foreruns all mental conditions, Mind is chief,mind-made are they; If one speaks or acts with a pure mind, Then happiness follows him Even as the shadow that never leaves.
——————–
ที่มา : หนังสือ “พุทธวจนะในธรรมบท”
โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คติธรรม : แม้ไม่มีใครอยู่เคียงกาย

🙏 คติธรรม
——————–

แม้ไม่มีใครอยู่เคียงกาย

แต่มีธรรมอยู่เคียงใจ

ปลอดภัยทุกเมื่อ

——————–
>> พระปัญญานันทมุนี <<
เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์

คติธรรม : หลวงพ่อปัญญานันทมุนี

🙏 คติธรรม
——————–

ลืม…อดีต

ปิด…อนาคต

กำหนด…ปัจจุบัน

——————–
>> พระปัญญานันทมุนี <<
เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์

พุทธวจน พระพุทธดำรัสในพระไตรปิฏก

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พุทธวจนะในธรรมบท
หมวดความรัก
——————–
อย่าติดอยู่ในสิ่งที่เรารัก หรือไม่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เป็นทุกข์
การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์
——————–
Be not attached to the beloved
And never with the unbeloved.
Not to meet the beloved is painful
As also to meet with the unbeloved.
——————–
ที่มา : หนังสือ “พุทธวจนะในธรรมบท”
โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

พุทธวจน พระพุทธดำรัสในพระไตรปิฏก

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

วันนี้วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓)

พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดตน

——————–

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.

ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

——————–

พุทธวจน พระพุทธดำรัสในพระไตรปิฏก

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
วันนี้วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘)
พุทธวจนะในธรรมบท
หมวดตน
——————–
เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก
——————–
Oneself ideeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectedly trained,
One obtains a refuge hard to gain.
——————–
ที่มา : หนังสือ “พุทธวจนะในธรรมบท”
โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก